19 เมษายน 2557

ผลประเมินผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนตามหลักสูตรแกนกลางการศึกษาขึ้นพื้นฐาน(NT)ชั้นป.3 ปีการศึกษา 2556

            เมื่อได้รับผลการประเมินความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3    ปีการศึกษา 2556 โรงเรียนในสังกัดสำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการ เขต 2 ใน 3 สมรรถนะ ได้แก่ความสามารถด้านภาษา ด้านการคิดคำนวณและด้านความสามารถการใช้เหตุผล เมื่อวันที่ 19  เมษายน  2557 ได้นำข้อมูลมาแขวนในบล็อกนี้ ก่อนที่จะนำไปแขวนไว้ยังเว็บไซต์ของสำนักงานเขตพื้นที่  สำนักงานเขตพื้นที่การศึกษาประถมศึกษาสมุทรปราการเขต 2 ขอชื่นชมโรงเรียนที่มีผลการประเมินรวมทั้ง 3 สมรรถนะ ที่มีค่าเฉลี่ยร้อยละตั้งแต่  50  ขึ้นไป ดังนี้ โรงเรียนละมูลรอดศิริ   โรงเรียนสุเหร่าคลองใหม่  โรงเรียนวัดราษฎร์นิยมธรรม  โรงเรียนปากคลองชวดใหญ่  โรงเรียนคลองบางกะสี  โรงเรียนรัตนโกสินทร์ 9   โรงเรียนวัดคอลาด   โรงเรียนเทวะคลองตรง  และโรงเรียน วัดลาดหวาย   นอกจากนี้ได้มีการสรุปข้อมูลระดับเขตพื้นที่และระดับประเทศมาเปรียบเทียบ ระหว่างปีการศึกษา 2555-2556 เพื่อให้โรงเรียนในเขตพื้นที่นำไปใช้ในการจัดทำแผนปฏิบัติการ และแผนพัฒนาคุณภาพการศึกษา ในปีการศึกษา 2557 

เปรียบเทียบผลการประเมินสมรรถนะที่จำเป็นระดับเขตพื้นที่ ระดับประเทศ           ปีการศึกษา 2555-2556

         สำหรับผลการประเมินความสามารถพื้นฐานที่จำเป็นนักเรียนชั้นประถมศึกษาปีที่  3 ปีการศึกษา 2556 ยังแขวนไว้เหมือนเดิม(ถ้าไม่สะดวกดาวน์โหลด ให้ดาวน์โหลดที่เว็บเขตพื้นที่นะครับ) ผลการประเมินโรงเรียนในสังกัด สพป.สป.2 ดังนี้

ระดับนักเรียนรายบุคคล

ระดับโรงเรียน

ระดับเขตพื้นที่

ระดับประเทศ

(เนื่องจากเป็นวันเสาร์ 19 เมษายน 2557 จึงแขวนไว้ที่นี้ก่อน)

กรณีไม่มีGoogleไดรฟ์  ให้ดาวน์โหลดที่นี่เป็น PDF

ข้อมูลนักเรียนบุคคลสังกัด สพฐ.

ข้อมูลนักเรียนบุคคลสังกัดเอกชน

ข้อมูลรายโรงเรียนสังกัด สพฐ.

ข้อมูลรายโรงเรียนสังกัดเอกชน

09 เมษายน 2557

มโนทัศน์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

                    ปัจจุบันการวัดและประเมินผลเป็นงานที่ท้าทายครู  เนื่องจากความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นประสิทธิผลที่เกิดจากการปฏิบัติงานของครู  ข้อมูลจากการประเมินที่เพียงพอจะช่วยการปรับปรุงการทำงาของผู้เรียนและยังเป็นแนวทางที่จะช่วยกระบวนการเรียนการสอนและสนับสนุนในเชิงนโยบายทางระบบการศึกษา  ในขณะเดียวกันถ้ากระบวนการประเมินไม่ดีจะมีผลที่ตรงกันข้ามกับผู้เรียน ครูและผู้บริหารโรงเรียน  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกับด้านธุรกิจที่มุ่งเน้นผลตอบแทนที่มุ่งกำไรหรือผลประโยชน์    ในข้อเท็จจริงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ไม่สามารถจับต้องได้แต่พยายามที่จะกำหนดลักษณะให้เกิดความเข้าใจได้
                ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีเทคนิคและวิธีการหลายวิธีที่ใช้ประเมินผลการเรียนรู้ทางปัญญา นอกเหนือจากการประเมินผลที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับแบบทดสอบและวัดเฉพาะด้านสมอง  โดยนักวัดผลทางการศึกษาคาดหวังจะให้การวัดผลทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผลในยุคโลกาภิวัตน์  มีการประเมินผลการเรียนรู้ทางด้านทักษะ(Skill)มากกว่าด้านความรู้ที่ ใช้วิธีการประเมินแบบเขียนตอบ เพื่อวัดความสามารถของนักเรียนและเป็นความต้องการของสถานศึกษาด้วย
                การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้(Assessment  for  Learning) เป็นการประเมินผู้เรียนเพื่อที่จะดูความงอกงามจากกระบวนการเรียนการสอนของครู ผลที่ได้จากการทดสอบนักเรียนจะทำได้ง่ายและสารสนเทศจากคะแนน  แปลผลแล้วจะทำให้เข้าใจง่าย  แบบทดสอบมาตรฐานเป็นที่นิยมมีเป้าหมายที่ชัดเจน  ครูและผู้บริหารโรงเรียนต้องการนำผลการสอบมาใช้เพื่อปรับปรุงด้านต่างๆ  แต่แบบทดสอบนั้นไม่สามารถนำมาใช้วัดผลในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการวัดภาคปฏิบัติที่มีวัตถุประสงค์และการประเมินด้านกระบวนการที่แน่นอน
                เริ่มแรกการประเมินอยู่ในขอบข่ายที่ศึกษาจะเกี่ยวข้องกับวิชาวิทยาศาสตร์ที่ต้องการวัดทางด้านปริมาณและคุณภาพในขอบเขตที่ศึกษา  ในวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพการวัดจะทำให้เข้าใจง่ายและยอมรับ  ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการอยากรู้ว่าลวดเส้นหนึ่งยาวเท่าไร  เราก็ใช้ไม้บรรทัดหรือตลับเมตรวัด  ถ้าอยากรู้ว่าวัตถุชิ้นหนึ่งหนักเท่าไร  ก็นำไปวางบนเครื่องชั่ง หน่วยมาตรฐานของการวัดความยาวจะเป็นเซนติเมตร เมตร หรือ นิ้ว  หน่วยมาตรฐานของน้ำหนักเป็นกรัม กิโลกรัม หรือ ปอนด์ ในทางการศึกษาปริมาณและคุณภาพที่สนใจส่วนมากเป็นนามธรรมไม่สามารถสัมผัสหรือมองเห็นได้  ดังนั้น กระบวนการวัดผลทางการศึกษาจึงยากกว่าการวัดทางด้านกายภาพ  ลักษณะของการวัดผล เช่น ความรู้เนื้อหาต่างๆใช้การวัดผลจากแบบทดสอบมาตรฐาน ที่เราเรียกว่าการทดสอบ(Testing) การวัดด้วยวิธีอื่นๆ เราอาจใช้ระดับความรู้ที่แบ่งเป็นระดับจาก 1 ถึง 5 แยกความรู้ของนักเรียนโดยค่า 1 น้อยที่สุด และ 5 มีค่าสูงสุด  บางเนื้อหาวิชาก็วัดกระบวนการตามขั้นตอนการทำงาน
               การวัดผล
                การวัดผลทางการศึกษา มีคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน  ตัวแปรที่สามารถวัดได้ โดยตรง เช่น อายุ  ความสูงของนักเรียน  ตัวแปรบางตัวไม่สามารถวัดได้โดยตรงต้องอาศัยวัดผ่านการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักเรียน  หรือมีตัวแปรที่บ่งบอกการวัดโดยตรงไม่ได้แต่ต้องการตัวบ่งชี้แสดงลักษณะ  ตัวอย่างการแสดงสามารถวัดลักษณะตัวแปรทางการศึกษา ดังนี้
                I              =      1    แทนลักษณะที่วัดได้
                                =      0    แทนลักษณะที่ยังไม่เกิดหรือวัดไม่ได้

                ตัวแปร  X   =    ความสัมพันธ์ในชั้นเรียน   ให้   I1 , I2 , ……., In  แสดงการมีส่วนร่วมของนักเรียน     n  คือ นักเรียนในชั้นเรียนที่ทำได้(เช่น ท่องบทอาขยานได้) และให้  X  =  ผลบวกของ  I’s    และ  N  คือ  นักเรียนทั้งหมด  สมมติถ้า  N   =  10   คน  นักเรียนมีส่วนร่วมและทำได้  5  คน  

                ดังนั้น  X  =       50 % 

                ตัวบ่งชี้หลายตัวจะรวมกลุ่ม  ซึ่งมีการสร้างเพื่อใช้วัดกลุ่มของตัวชี้วัดที่เป็นตัวแปร  ตัวแปรจะรวมเป็นกลุ่มที่เรียกว่าโครงสร้างหรือองค์ประกอบ(Factor)  ตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบจะมีค่าสหสัมพันธ์กันสูง  แต่จะมีค่าสหสัมพันธ์กันต่ำกับตัวแปรหรือกลุ่มอื่น
                ตัวอย่าง  ตัวแปรที่วัดด้วยชุดแบบทดสอบ(battery of tests)

                X1           =             ทักษะการคำนวณ
                X2           =             ทักษะการอ่าน
                X3           =             คำศัพท์
                X4           =             ด้านตรรกะและเหตุผล
                X5           =             ลำดับและชุดของสิ่งของ
                X6           =             ใช้มือทำคล่องแคล่ว

ตัวแปรแบ่งกลุ่ม  ดังนี้
                กลุ่ม 1    X1 , X, X5   ปัจจัยความสามารถด้านคณิตศาสตร์
                กลุ่ม 2    X2 , X3  ปัจจัยความสามารด้านภาษา
                กลุ่ม 3    X6  ปัจจัยความสามารถด้านกล้ามเนื้อ
     การวัดผลทางการศึกษา  จะให้ความสนใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้  ตัวแปรและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลทางการศึกษา

      การประเมินผล

                ในขั้นตอนการวัดผลเราให้ความสนใจทางด้านคุณภาพและปริมาณ  ขั้นตอนต่อไปเป็นการประเมินปรากฏการณ์ทางด้านการศึกษา  ตัวอย่าง ถ้าสนใจคุณภาพระดับความสามารถการปฏิบัติงานวิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้น ป. 6 โรงเรียนในเมือง จุดประสงค์ในการวัดโดยใช้คะแนนจากแบบทดสอบที่ได้จากคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์มาตรฐานคณิตศาสตร์  เป้าหมายของการวัด คือ นักเรียนต้องทำคะแนนได้ไม่น้อยกว่า  85%

                บทบาทหน้าที่ของการประเมิน

                มีการใช้การประเมินในหลายลักษณะเพื่อตัดสินการเรียนการสอน ดังนี้
                1) บทบาทเพื่อสรุปผลการเรียน(Summative  Role) จุดประสงค์การประเมินเพื่อสรุปผลเพื่อต้องการให้เห็นระดับผลการเรียนหรือเกรดของนักเรียน ตามรายวิชาที่นักเรียนได้เรียนรู้
                2) บทบาทเพื่อการวินิจฉัย(Diagnostic  Role) บางครั้งการประเมินเป็นไปตามวัตถุประสงค์นี้  กรณีของปัญหาการเรียนรู้หรือกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน  ที่คาดหวังว่าสามารถแก้ปัญหาได้  การวินิจฉัยปัญหาเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะอาจทำให้การวินิจฉัยผิดพลาด การใช้แบบทดสอบเพื่อที่จะวินิจฉัยว่านักเรียนคนใดมีความบกพร่อง  ครูต้องระมัดระวังในการวินิจฉัยจากการเรียนรู้  ครูต้องมีวิธีการประเมินการสอนที่เหมาะสมและมีโปรแกรมมาแทรกป้องกันไว้  เพราะการที่ครูวินิจฉัยที่ผิดพลาดจะเกิดผลเสียหายที่ตามมา เช่น กรณีนักเรียนคนหนึ่งมีปัญหาในการแปลความทำเลขโจทย์ปัญหาไม่ได้  โดยที่นักเรียนอาจมีความบกพร่องทางการอ่านหนังสือไม่ได้หรือการอ่านจับใจความอยู่ก่อนแล้ว  จึงไม่สามารถทำเลขโจทย์ปัญหา
                3) บทบาทเพื่อใช้ตัดสินระหว่างเรียน(Formative  Assessment) การประเมินลักษณะนี้ครูต้องประเมินกิจกรรมระหว่างการเรียนการสอนในแต่ละครั้งที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ซึ่งบางครั้งมุ่งที่ไปที่แบบฝึกหัดใช่หรือไม่  ในบริบทของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการประเมินระหว่างเรียนสำคัญที่สุด เมื่อนักเรียนไม่เข้าใจผิดครูจะอธิบายใหม่ หรือปรับเปลี่ยนเนื้อหาเพื่อการเรียนการสอนใหม่
                4) บทบาทการสอบเพื่อจัดตำแหน่ง(Placement) ลักษณะสุดท้ายของการประเมินในหลักสูตร  การใช้ตัดสินตำแหน่ง  การประเมินในบทบาทนี้คือ การจัดตำแหน่งของนักเรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทัศนคติ  การสอบเพื่อจัดตำแหน่งจะเป็นการจัดความสามารถทางด้านสมองของนักเรียน  สำหรับด้านทัศนคติครูอาจใช้ลักษณะของจิตอาสา การมีวินัยของนักเรียน ฯลฯ

                การประเมินผลการเรียนรู้และโปรแกรม
                รูปแบบการประเมินมีความสำคัญในบริบททางการศึกษา  การประเมินมาจากการวัดและประเมินผลลักษณะทางการศึกษาที่ผ่านมาแล้ว  โดยที่ต้องผ่านการวัดและตัดสินผลลัพธ์ทางการศึกษา  ในการประเมินผลลัพธ์  เราต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของกระบวนการทางการศึกษา วิเคราะห์ทั้งผลผลิต(Output)และผลลัพธ์(Outcome)ที่พึงพอใจและยังขยายวัตถุประสงค์ที่สำคัญอื่นๆ  ถ้ามีการประเมินผลแล้วล้มเหลว  เราต้องหารสาเหตุที่เป็นไปได้ถึงความล้มเหลวตามวัตถุประสงค์  เราสามารถหาเหตุผลได้จากนิยามบริบท  ปัจจัย  กระบวนการและผลผลิตจากการระบบการศึกษา   
                การประเมินจัดเป็นเครื่องมือที่กำหนดขอบเขตของกระบวนการ
ทางการศึกษาหรือโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ  ในเวลาเดียวกันยังกำกับทิศทางของหลักสูตรที่จะกำหนดลักษณะความสำเร็จของผู้เรียน  ขั้นสุดท้ายการประเมินที่ขยายตัวโดยองค์กรที่มีประสิทธิภาพที่เน้นไปที่ความพยายามของครูและผู้บริหารโรงเรียน  รวมทั้งทรัพยากรที่มีอยู่(เวลาและเงิน)ที่ตอบสนองในขอบเขตที่ต้องการมากที่สุด
              การปรับปรุงการปฏิบัติงานของนักเรียนที่แก้ไขไม่ได้จะเกี่ยวพันกับการปรับปรุงด้านปัจจัยและกระบวนการ  ให้การเรียนการสอนของครูมีประสิทธิผล  การประเมินจะให้ความสนใจทั้งครูและผู้บริหารโรงเรียนมากที่สุด เนื่องจากจะวางแผนและปรับปรุงการเรียนการสอนได้ทั้งหมด  
     โปรแกรมการประเมินมองความต้องการไปที่กิจกรรมที่สำคัญๆ  ที่จะนำไปสู่การวิจัยหรือค้นหาความจริงอย่างง่าย  คุณลักษณะโปรแกรมการประเมินจะเป็นการบริการที่มีคุณภาพโดยย้อนกลับจากกิจกรรมที่ทำและผลลัพธ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในโปรแกรมหรือการตัดสินใจจากการบริการเพื่อให้เกิดการพิจารณา   การปราศจากการย้อนกลับโปรแกรมการบริการของคนไม่สมารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพได้  โมเดลเชิงระบบเพื่อการประเมินไม่มีประโยชน์เฉพาะรูปแบบโปรแกรมการประเมิน  โมเดลการประเมินแบบเดลฟายเป็นโมเดลการประเมินที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีต  มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเทคนิคเดลฟายมีความน่าเชื่อถือและตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญเป็นรูปแบบที่ยึดระบบจากผู้ประเมินภายนอกระบบ  ผู้ปฏิบัติงานตามโปรแกรมต้องกำหนดขอบเขตเกี่ยวกับโปรแกรม  ผู้เชี่ยวชาญจะตัดสินขอบเขตเนื้อหาภายใต้การรวบรวมจากประสบการณ์ที่ผ่านมาและความเชี่ยวชาญของตน  หลายโปรแกรมการประเมินอาจไม่มีขอบเขตที่จะประเมินกระบวนการทางการศึกษา  สำหรับหน่วยงานทางราชการโปรแกรมการประเมินมีความสำคัญเพื่อรองรับ  สนับสนุนกิจกรรม เพื่อตรวจสอบอัตถประโยชน์จากการใช้งบประมาณ  ตัวอย่าง ต้องการใช้สนับสนุนกองทุนจากต่างประเทศที่มีเป้าหมายในภาคสังคม เช่น ขจัดความยากจน โปรแกรมต้องตอบสนองด้านทรัพยากรไม่ให้เกิดความสูญเปล่า