09 เมษายน 2557

มโนทัศน์การวัดและประเมินผลการเรียนรู้

                    ปัจจุบันการวัดและประเมินผลเป็นงานที่ท้าทายครู  เนื่องจากความก้าวหน้าทางการเรียนรู้ของผู้เรียนเป็นประสิทธิผลที่เกิดจากการปฏิบัติงานของครู  ข้อมูลจากการประเมินที่เพียงพอจะช่วยการปรับปรุงการทำงาของผู้เรียนและยังเป็นแนวทางที่จะช่วยกระบวนการเรียนการสอนและสนับสนุนในเชิงนโยบายทางระบบการศึกษา  ในขณะเดียวกันถ้ากระบวนการประเมินไม่ดีจะมีผลที่ตรงกันข้ามกับผู้เรียน ครูและผู้บริหารโรงเรียน  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้เป็นเรื่องที่ตรงกันข้ามกับด้านธุรกิจที่มุ่งเน้นผลตอบแทนที่มุ่งกำไรหรือผลประโยชน์    ในข้อเท็จจริงการวัดและประเมินผลการเรียนรู้ไม่สามารถจับต้องได้แต่พยายามที่จะกำหนดลักษณะให้เกิดความเข้าใจได้
                ช่วงทศวรรษที่ผ่านมา  การวัดและประเมินผลการเรียนรู้มีเทคนิคและวิธีการหลายวิธีที่ใช้ประเมินผลการเรียนรู้ทางปัญญา นอกเหนือจากการประเมินผลที่มุ่งเน้นให้ความสำคัญกับแบบทดสอบและวัดเฉพาะด้านสมอง  โดยนักวัดผลทางการศึกษาคาดหวังจะให้การวัดผลทำหน้าที่ได้อย่างมีประสิทธิผลในยุคโลกาภิวัตน์  มีการประเมินผลการเรียนรู้ทางด้านทักษะ(Skill)มากกว่าด้านความรู้ที่ ใช้วิธีการประเมินแบบเขียนตอบ เพื่อวัดความสามารถของนักเรียนและเป็นความต้องการของสถานศึกษาด้วย
                การประเมินผลเพื่อการเรียนรู้(Assessment  for  Learning) เป็นการประเมินผู้เรียนเพื่อที่จะดูความงอกงามจากกระบวนการเรียนการสอนของครู ผลที่ได้จากการทดสอบนักเรียนจะทำได้ง่ายและสารสนเทศจากคะแนน  แปลผลแล้วจะทำให้เข้าใจง่าย  แบบทดสอบมาตรฐานเป็นที่นิยมมีเป้าหมายที่ชัดเจน  ครูและผู้บริหารโรงเรียนต้องการนำผลการสอบมาใช้เพื่อปรับปรุงด้านต่างๆ  แต่แบบทดสอบนั้นไม่สามารถนำมาใช้วัดผลในบริบทที่เกี่ยวข้องกับการวัดภาคปฏิบัติที่มีวัตถุประสงค์และการประเมินด้านกระบวนการที่แน่นอน
                เริ่มแรกการประเมินอยู่ในขอบข่ายที่ศึกษาจะเกี่ยวข้องกับวิชาวิทยาศาสตร์ที่ต้องการวัดทางด้านปริมาณและคุณภาพในขอบเขตที่ศึกษา  ในวิชาวิทยาศาสตร์กายภาพการวัดจะทำให้เข้าใจง่ายและยอมรับ  ตัวอย่างเช่น ถ้าต้องการอยากรู้ว่าลวดเส้นหนึ่งยาวเท่าไร  เราก็ใช้ไม้บรรทัดหรือตลับเมตรวัด  ถ้าอยากรู้ว่าวัตถุชิ้นหนึ่งหนักเท่าไร  ก็นำไปวางบนเครื่องชั่ง หน่วยมาตรฐานของการวัดความยาวจะเป็นเซนติเมตร เมตร หรือ นิ้ว  หน่วยมาตรฐานของน้ำหนักเป็นกรัม กิโลกรัม หรือ ปอนด์ ในทางการศึกษาปริมาณและคุณภาพที่สนใจส่วนมากเป็นนามธรรมไม่สามารถสัมผัสหรือมองเห็นได้  ดังนั้น กระบวนการวัดผลทางการศึกษาจึงยากกว่าการวัดทางด้านกายภาพ  ลักษณะของการวัดผล เช่น ความรู้เนื้อหาต่างๆใช้การวัดผลจากแบบทดสอบมาตรฐาน ที่เราเรียกว่าการทดสอบ(Testing) การวัดด้วยวิธีอื่นๆ เราอาจใช้ระดับความรู้ที่แบ่งเป็นระดับจาก 1 ถึง 5 แยกความรู้ของนักเรียนโดยค่า 1 น้อยที่สุด และ 5 มีค่าสูงสุด  บางเนื้อหาวิชาก็วัดกระบวนการตามขั้นตอนการทำงาน
               การวัดผล
                การวัดผลทางการศึกษา มีคุณลักษณะที่เกี่ยวข้องกับผู้เรียน  ตัวแปรที่สามารถวัดได้ โดยตรง เช่น อายุ  ความสูงของนักเรียน  ตัวแปรบางตัวไม่สามารถวัดได้โดยตรงต้องอาศัยวัดผ่านการมีส่วนร่วมในชั้นเรียนของนักเรียน  หรือมีตัวแปรที่บ่งบอกการวัดโดยตรงไม่ได้แต่ต้องการตัวบ่งชี้แสดงลักษณะ  ตัวอย่างการแสดงสามารถวัดลักษณะตัวแปรทางการศึกษา ดังนี้
                I              =      1    แทนลักษณะที่วัดได้
                                =      0    แทนลักษณะที่ยังไม่เกิดหรือวัดไม่ได้

                ตัวแปร  X   =    ความสัมพันธ์ในชั้นเรียน   ให้   I1 , I2 , ……., In  แสดงการมีส่วนร่วมของนักเรียน     n  คือ นักเรียนในชั้นเรียนที่ทำได้(เช่น ท่องบทอาขยานได้) และให้  X  =  ผลบวกของ  I’s    และ  N  คือ  นักเรียนทั้งหมด  สมมติถ้า  N   =  10   คน  นักเรียนมีส่วนร่วมและทำได้  5  คน  

                ดังนั้น  X  =       50 % 

                ตัวบ่งชี้หลายตัวจะรวมกลุ่ม  ซึ่งมีการสร้างเพื่อใช้วัดกลุ่มของตัวชี้วัดที่เป็นตัวแปร  ตัวแปรจะรวมเป็นกลุ่มที่เรียกว่าโครงสร้างหรือองค์ประกอบ(Factor)  ตัวแปรที่เป็นองค์ประกอบจะมีค่าสหสัมพันธ์กันสูง  แต่จะมีค่าสหสัมพันธ์กันต่ำกับตัวแปรหรือกลุ่มอื่น
                ตัวอย่าง  ตัวแปรที่วัดด้วยชุดแบบทดสอบ(battery of tests)

                X1           =             ทักษะการคำนวณ
                X2           =             ทักษะการอ่าน
                X3           =             คำศัพท์
                X4           =             ด้านตรรกะและเหตุผล
                X5           =             ลำดับและชุดของสิ่งของ
                X6           =             ใช้มือทำคล่องแคล่ว

ตัวแปรแบ่งกลุ่ม  ดังนี้
                กลุ่ม 1    X1 , X, X5   ปัจจัยความสามารถด้านคณิตศาสตร์
                กลุ่ม 2    X2 , X3  ปัจจัยความสามารด้านภาษา
                กลุ่ม 3    X6  ปัจจัยความสามารถด้านกล้ามเนื้อ
     การวัดผลทางการศึกษา  จะให้ความสนใจเกี่ยวกับตัวบ่งชี้  ตัวแปรและองค์ประกอบที่เกี่ยวข้องกับการวัดผลทางการศึกษา

      การประเมินผล

                ในขั้นตอนการวัดผลเราให้ความสนใจทางด้านคุณภาพและปริมาณ  ขั้นตอนต่อไปเป็นการประเมินปรากฏการณ์ทางด้านการศึกษา  ตัวอย่าง ถ้าสนใจคุณภาพระดับความสามารถการปฏิบัติงานวิชาคณิตศาสตร์ นักเรียนชั้น ป. 6 โรงเรียนในเมือง จุดประสงค์ในการวัดโดยใช้คะแนนจากแบบทดสอบที่ได้จากคะแนนแบบทดสอบวัดผลสัมฤทธิ์มาตรฐานคณิตศาสตร์  เป้าหมายของการวัด คือ นักเรียนต้องทำคะแนนได้ไม่น้อยกว่า  85%

                บทบาทหน้าที่ของการประเมิน

                มีการใช้การประเมินในหลายลักษณะเพื่อตัดสินการเรียนการสอน ดังนี้
                1) บทบาทเพื่อสรุปผลการเรียน(Summative  Role) จุดประสงค์การประเมินเพื่อสรุปผลเพื่อต้องการให้เห็นระดับผลการเรียนหรือเกรดของนักเรียน ตามรายวิชาที่นักเรียนได้เรียนรู้
                2) บทบาทเพื่อการวินิจฉัย(Diagnostic  Role) บางครั้งการประเมินเป็นไปตามวัตถุประสงค์นี้  กรณีของปัญหาการเรียนรู้หรือกระบวนการเรียนรู้ของนักเรียน  ที่คาดหวังว่าสามารถแก้ปัญหาได้  การวินิจฉัยปัญหาเป็นสิ่งที่ต้องระมัดระวังเป็นอย่างมากเพราะอาจทำให้การวินิจฉัยผิดพลาด การใช้แบบทดสอบเพื่อที่จะวินิจฉัยว่านักเรียนคนใดมีความบกพร่อง  ครูต้องระมัดระวังในการวินิจฉัยจากการเรียนรู้  ครูต้องมีวิธีการประเมินการสอนที่เหมาะสมและมีโปรแกรมมาแทรกป้องกันไว้  เพราะการที่ครูวินิจฉัยที่ผิดพลาดจะเกิดผลเสียหายที่ตามมา เช่น กรณีนักเรียนคนหนึ่งมีปัญหาในการแปลความทำเลขโจทย์ปัญหาไม่ได้  โดยที่นักเรียนอาจมีความบกพร่องทางการอ่านหนังสือไม่ได้หรือการอ่านจับใจความอยู่ก่อนแล้ว  จึงไม่สามารถทำเลขโจทย์ปัญหา
                3) บทบาทเพื่อใช้ตัดสินระหว่างเรียน(Formative  Assessment) การประเมินลักษณะนี้ครูต้องประเมินกิจกรรมระหว่างการเรียนการสอนในแต่ละครั้งที่จัดกิจกรรมการเรียนการสอน  ซึ่งบางครั้งมุ่งที่ไปที่แบบฝึกหัดใช่หรือไม่  ในบริบทของการจัดกิจกรรมการเรียนการสอนการประเมินระหว่างเรียนสำคัญที่สุด เมื่อนักเรียนไม่เข้าใจผิดครูจะอธิบายใหม่ หรือปรับเปลี่ยนเนื้อหาเพื่อการเรียนการสอนใหม่
                4) บทบาทการสอบเพื่อจัดตำแหน่ง(Placement) ลักษณะสุดท้ายของการประเมินในหลักสูตร  การใช้ตัดสินตำแหน่ง  การประเมินในบทบาทนี้คือ การจัดตำแหน่งของนักเรียนทั้งด้านผลสัมฤทธิ์ทางการเรียนและทัศนคติ  การสอบเพื่อจัดตำแหน่งจะเป็นการจัดความสามารถทางด้านสมองของนักเรียน  สำหรับด้านทัศนคติครูอาจใช้ลักษณะของจิตอาสา การมีวินัยของนักเรียน ฯลฯ

                การประเมินผลการเรียนรู้และโปรแกรม
                รูปแบบการประเมินมีความสำคัญในบริบททางการศึกษา  การประเมินมาจากการวัดและประเมินผลลักษณะทางการศึกษาที่ผ่านมาแล้ว  โดยที่ต้องผ่านการวัดและตัดสินผลลัพธ์ทางการศึกษา  ในการประเมินผลลัพธ์  เราต้องพิจารณาวัตถุประสงค์ของกระบวนการทางการศึกษา วิเคราะห์ทั้งผลผลิต(Output)และผลลัพธ์(Outcome)ที่พึงพอใจและยังขยายวัตถุประสงค์ที่สำคัญอื่นๆ  ถ้ามีการประเมินผลแล้วล้มเหลว  เราต้องหารสาเหตุที่เป็นไปได้ถึงความล้มเหลวตามวัตถุประสงค์  เราสามารถหาเหตุผลได้จากนิยามบริบท  ปัจจัย  กระบวนการและผลผลิตจากการระบบการศึกษา   
                การประเมินจัดเป็นเครื่องมือที่กำหนดขอบเขตของกระบวนการ
ทางการศึกษาหรือโปรแกรมที่มีประสิทธิภาพ  ในเวลาเดียวกันยังกำกับทิศทางของหลักสูตรที่จะกำหนดลักษณะความสำเร็จของผู้เรียน  ขั้นสุดท้ายการประเมินที่ขยายตัวโดยองค์กรที่มีประสิทธิภาพที่เน้นไปที่ความพยายามของครูและผู้บริหารโรงเรียน  รวมทั้งทรัพยากรที่มีอยู่(เวลาและเงิน)ที่ตอบสนองในขอบเขตที่ต้องการมากที่สุด
              การปรับปรุงการปฏิบัติงานของนักเรียนที่แก้ไขไม่ได้จะเกี่ยวพันกับการปรับปรุงด้านปัจจัยและกระบวนการ  ให้การเรียนการสอนของครูมีประสิทธิผล  การประเมินจะให้ความสนใจทั้งครูและผู้บริหารโรงเรียนมากที่สุด เนื่องจากจะวางแผนและปรับปรุงการเรียนการสอนได้ทั้งหมด  
     โปรแกรมการประเมินมองความต้องการไปที่กิจกรรมที่สำคัญๆ  ที่จะนำไปสู่การวิจัยหรือค้นหาความจริงอย่างง่าย  คุณลักษณะโปรแกรมการประเมินจะเป็นการบริการที่มีคุณภาพโดยย้อนกลับจากกิจกรรมที่ทำและผลลัพธ์ที่มีการเปลี่ยนแปลงในโปรแกรมหรือการตัดสินใจจากการบริการเพื่อให้เกิดการพิจารณา   การปราศจากการย้อนกลับโปรแกรมการบริการของคนไม่สมารถก่อให้เกิดประสิทธิภาพได้  โมเดลเชิงระบบเพื่อการประเมินไม่มีประโยชน์เฉพาะรูปแบบโปรแกรมการประเมิน  โมเดลการประเมินแบบเดลฟายเป็นโมเดลการประเมินที่ใช้กันอย่างแพร่หลายในอดีต  มีความสำคัญเนื่องจากเป็นเทคนิคเดลฟายมีความน่าเชื่อถือและตัดสินโดยผู้เชี่ยวชาญเป็นรูปแบบที่ยึดระบบจากผู้ประเมินภายนอกระบบ  ผู้ปฏิบัติงานตามโปรแกรมต้องกำหนดขอบเขตเกี่ยวกับโปรแกรม  ผู้เชี่ยวชาญจะตัดสินขอบเขตเนื้อหาภายใต้การรวบรวมจากประสบการณ์ที่ผ่านมาและความเชี่ยวชาญของตน  หลายโปรแกรมการประเมินอาจไม่มีขอบเขตที่จะประเมินกระบวนการทางการศึกษา  สำหรับหน่วยงานทางราชการโปรแกรมการประเมินมีความสำคัญเพื่อรองรับ  สนับสนุนกิจกรรม เพื่อตรวจสอบอัตถประโยชน์จากการใช้งบประมาณ  ตัวอย่าง ต้องการใช้สนับสนุนกองทุนจากต่างประเทศที่มีเป้าหมายในภาคสังคม เช่น ขจัดความยากจน โปรแกรมต้องตอบสนองด้านทรัพยากรไม่ให้เกิดความสูญเปล่า   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น